วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สาเหตุของความเปลี่ยนแปลงภาษา

                                              สาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง

 ๑. ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
        คำเกิดใหม่ตามสิ่งแวดล้อม  เช่น ตู้เย็น พัดลม  โทรศัพท์ไร้สาย  มีการกำหนดคำขึ้นใช้เป็น     ศัพท์บัญญัติ เช่น
           ศัพท์บัญญัติที่เป็นคำประสม เช่น
                - เหตุจูงใจ (motive)
                - หนังสืออ้างอิง(reference book)
                - วิชาบังคับ (required course)
                - แบบสอบถาม (questionnaire)
          ศัพท์บัญญัติที่เป็นคำซ้อน  เช่น  
                 - ผลลัพธ์ (result)     - ทรัพย์สิน(asset)   -ดัดแปลง(adapt)  
                 - ทดสอบ (test)        - ระเบียบ (order)   -ระเบียน(record)

 ๒.ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม
           คนบางกลุ่มในสังคม เช่น สื่อมวลชน วัยรุ่น มักสร้างคำสำนวนขึ้นใช้เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่
 เช่น สร้างคำว่า สตอเบอรี่ งานเข้า ตัวแม่ แอ๊บแบ๊ว (คำเหล่านี้ เรียกกันว่า คำสแลง)
๓. อิทธิพลของภาษาอื่น 
           มีการติดต่อสื่อสารกับวัฒนธรรมอื่น จึงยืมคำหรือรูปประโยคมาใช้ในภาษาไทย เช่น
                ก. อิทธิพลภาษาบาลีสันสกฤตและเขมร เช่น เบญจางคประดิษฐ์     บรมโพธิสมภาร   อาจ  ทำให้มีคำมากพยางค์ขึ้น และบางเสียงมีตัวสะกดมากขึ้น
                ข. อิทธิพลภาษาจีน   เช่น เก๋ง ก๋วยเตี๋ยว เฉาก๋วย  ตั๋ว ทำให้คำเสียงตรีหรือจัตวามีมากขึ้นในภาษาไทย
                ค. อิทธิพลภาษาอังกฤษ  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น
                       - คำไทยทั่วไปไม่มีพยัญชนะควบกล้ำ ดร มร ฟร บล ฟล แต่ยืมอังกฤษแล้วมี เช่น     ดรีมไบรต์ ฟรี เบลอ แฟลต 
                       - คำไทยทั่วไปไม่มีพยัญชนะที่เป็นตัวสะกด ล ส ฟ แต่คำยืมอังกฤษมี เช่น
ฟุตบอล โบนัส ยีราฟ
                      - คำไทยทั่วไปไม่มีพยัญชนะท้ายหลังสระ ไอ หรือ เอา แต่คำยืมอังกฤษมี เช่น
 ไวน์  น็อกเอาต์

๔. อิทธิพลของภาษาถิ่น
              ภาษาไทยทีใช้ในท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์แบ่งเป็น ๓ กลุ่มคือ
        ๑. ภาษาภาคเหนือ หรือภาษาเหนือได้แก่ภาษาที่พูดในจังหวัดทางภาคเหนือของไทย  เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่  น่าน ลำพูน ลำปาง
        ๒. ภาษาภาคอีสาน หรือภาษาถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ภาษาที่พูดในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น  นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครพนม สกลนคร
        ๓. ภาษาภาคใต้ หรือภาษาถิ่นปักษ์ใต้ ได้แก่ภาษาที่พูดในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ปัตตานี
            ความแตกต่างมีได้ดังนี้
             ๑. ภาษาถิ่นหนึ่งมีเสียงที่ภาษาถิ่นอื่นไม่มี เช่น เสียง ร มีในภาษากรุงเทพฯ ไม่มีในภาษาเชียงใหม่ อุบล และสงขลา  ( กระทรวงศึกษา :  หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ : ๒๕๕๕) เป็นต้น
             ๒. เสียงหนึ่งในภาษาถิ่นหนึ่งกลายเป็นเสียงอื่นในภาษาอีกถิ่นหนึ่ง เช่น
 พยัญชนะมีกลุ่มลมตาม ค พ ท ในภาษากรุงเทพ จะเป็นพยัญชนะไม่มีกลุ่มลมตาม ก ป ต ในภาษาเชียงใหม่
              ๓. คำในภาษาถิ่นหนึ่งอาจจะมีเสียงใกล้เคียงกับอีกถิ่นหนึ่ง แต่ความหมายต่างกัน เช่น
พริก   ภาษากรุงเทพ หมายถึง พริกไทย พริกต่างๆ
  -      ภาษาภาคใต้   หมายถึง พริกไทยเท่านั้น พริกอื่นๆ สงขลาเรียก ดีปลี สุราษฎร์ธานี เรียก ลูกเผ็ด
น้ำผึ้ง ภาษากรุงเทพ หมายถึง น้ำหวานที่ได้จากผึ้ง
   -     ภาษาภาคใต้   หมายถึง   น้ำตาลทั่วไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น