วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระดับภาษา


ระดับภาษา




         ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ ทัศนคติ และใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
          ระดับภาษาเป็นเรื่องของความเหมาะสมในการใช้ภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล ตามโอกาส กาลเทศะ และประชุมชน เพื่อให้สัมฤทธิ์สมความมุ่งหมาย

                           การแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆ
                                  แบ่งโดยละเอียด ๕ ระดับ
                                        ๑. ระดับพิธีการ
                                        ๒. ระดับทางการ
                                        ๓. ระดับกึ่งทางการ
                                        ๔. ระดับไม่เป็นทางการ
                                        ๕.  ระดับกันเอง




ภาษาระดับพิธีการ
           ใช้สื่อสารในที่ประชุมที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ   เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร การกล่าวสดุดี หรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณงามความดี การกล่าวปิดพิธี ฯลฯ

ภาษาระดับทางการ
           ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุม หรือใช้เขียนข้อความที่จะให้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการเป็นงาน การใช้ภาษาระดับนี้ เช่น    การประชุมที่ต่อจากช่วงที่ต้องทำตามพิธีการแล้ว   หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางการ หรือวงการธุรกิจ
           หลักการใช้ภาษาระดับนี้   ใช้ภาษาตรงไปตรงมา เน้นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์ โดยประหยัดถ้อยคำ ประหยัดเวลาให้มากที่สุด

ภาษาระดับกึ่งทางการ 
         มักใช้ในการประชุมกลุ่ม หรืออภิปรายกลุ่ม ที่เล็กลงกว่าในระดับทางการ การใช้ภาษาระดับกึ่งทางการเช่นการบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์
         การใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกว่าภาษาในระดับที่ ๒  เนื้อหาของสารมักเป็นความรู้ทั่วไป การแสดงความเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต รกิจ มักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น เพื่อให้บุคคลที่ไม่ได้เรียนรู้ด้านนั้นๆโดยตรงสามารถรับสารได้เข้าใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้ส่งสาร

ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
           มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คน ในเวลาและสถานที่ไม่ใช่ส่วนตัว เช่น การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์
           เนื้อหาของสารมักเป็นเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆ

ภาษาระดับกันเอง
            ภาษาระดับนี้ใช้ในวงจำกัด เช่น ภาษาที่ใช้ในครอบครัว หรือใช้ระหว่างเพื่อนสนิท สถานที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว เช่น บ้าน
                                                     ข้อสังเกตบางประการเรื่องระดับภาษา
             ๑. ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับอีกระดับหนึ่ง เช่น ระดับ ๒ ,๓ อาจใช้ปะปนกันหรือระดับ ๓,๔ อาจใช้ด้วยกันบ้าง เป็นต้น
             ๒. บุคคลแต่ละคนอาจจะไม่มีโอกาสใช้ภาษาครบทั้ง๕ระดับ แต่ทุกคนย่อมต้องใช้ระดับ ๓,๔ อยู่เสมอๆ
             ๓. ถ้าใช้ระดับภาษาไม่เหมาะสมแก่กาลเทศะและโอกาสก็จะเป็นอุปสรรคในการสื่อสาร ผู้รับสารอาจเห็นไปว่า ผู้ส่งสารเสแสร้ง ไม่จริงใจ หรือไม่รู้กาลเทศะ เป็นต้น 


ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษา
            ๑. โอกาสและสถานที่
            ๒. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
            ๓. ลักษณะของเนื้อหา
            ๔. สื่อที่ใช้
ลักษณะของภาษาระดับต่างๆ
            ๑. การเรียบเรียง
            ๒. กลวิธีนำเสนอ
            ๓. ถ้อยคำที่ใช้
                     - คำสรรพนาม
                     - คำนาม
                     - คำกริยา
                     - คำวิเศษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น