วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชนิดของคำ

ชนิดของคำ
             คำเป็นหน่วยสำคัญพื้นฐานในการเรียนรู้เรื่องประโยค ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
             คำไทย ไม่มีการเปลี่ยนรูปเพื่อบอกหน้าที่แตกต่างกันทางไวยากรณ์ หรือ เพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำที่เรียงกันอยู่ในประโยค
              ความสัมพันธ์ของคำแสดงด้วยการปรากฎร่วมกันของคำและตำแหน่งหรือลำดับที่ปรากฏก่อนหลังของคำ เมื่อคำปรากฏร่วมกันอาจทำหน้าที่แยกกันหรือรวมเข้าด้วยกันเป็นหน่วยเดียวและทำหน้าที่เดียวกันก็ได้
                      เกณฑ์การจำแนกชนิดของคำมีหลายเกณฑ์   เช่น
*พระยาอุปกิตศิลปสาร จำแนกชนิดของคำออกเป็น ๗ ชนิด
*วิจินตน์ ภาณุพงศ์ จำแนกชนิดของคำออกเป็น ๒๖ ชนิด(เรียกชนิดของคำว่าหมวดคำ)
*นววรรณ พันธุเมธาจำแนกชนิดของคำออกเป็น ๖ ชนิด(เรียกชนิดของคำว่าหมวดคำ)
*หนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๓ จำแนกชนิดของคำไทยออกเป็น ๑๒ ชนิด
*หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๔ กระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวถึงการแบ่งตามแบบพระยาอุปกิตศิลปสาร ชนิดของคำไทย ดังนี้
           ๑. คำนาม เป็นคำบอกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น  คำนามแบ่งเป็น ๕ พวกคือ
               (๑) สามายนาม คือนามที่เป็นชื่อทั่วไป เช่น คน บ้าน เวลา
               (๒) วิสามายนาม คือนามที่เป็นชื่อเฉพาะ
               (๓) สมุหนาม คือ นามที่เป็นชื่อ คน สัตว์ และสิ่งของที่อยู่รวมกันมากด้วยกัน เช่น ภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป เรียกว่าสงฆ์  ข้างหลายตัวรวมกันเรียกว่าโขลง
                (๔) ลักษณะนาม คือ คำนามที่บอกลักษณะของสามมายนามอีกทีหนึ่ง เช่น คำเรียก พระว่ารูป  เรียกสัตว์ว่าตัว เรียกเรือว่าลำ
                 (๕) อาการนาม คือนามที่เป็นชื่อแห่งกิริยาอาการ หรือความปรากฏเป็นต่างๆแห่งคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งเนื่องมาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เช่น  การเดิน การกิน การอยู่ ความงาม ความสุข
           ๒. สรรพนาม เป็นคำใช้แทนชื่อต่างๆ
           ๓. คำกริยา เป็นคำบอกอาการของคน สัตว์ สิ่งของ
           ๔. คำวิเศษณ์ เป็นคำประกอบคำอื่นให้มีความต่างออกไป
           ๕. คำบุพบท เป็นคำสำหรับนำหน้านามและสรรพนาม
           ๖. คำสันธาน เป็นคำเชื่อมคำ หรือความให้ติดต่อกัน
           ๗. คำอุทาน เป็นคำบอกเสียงต่างๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น